ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดทำโครงการ  “การพัฒนาระบบควบคุมฟาร์มอัจฉริยะในโรงเรือน  โดยใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีสมัยใหม่แบบยั่งยืน

0

ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดทำโครงการ  “การพัฒนาระบบควบคุมฟาร์มอัจฉริยะในโรงเรือน  โดยใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีสมัยใหม่แบบยั่งยืน ในภาคเหนือตอนบน 1” ดำเนินการลงพื้นที่โดย ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – สำนักงานเชียงใหม่

Sun Space Farm เป็นโรงเรือน 1 ใน 5 โรงเรือนที่ติดตั้งอุปกรณ์  SMART FARM จากโครงการ “การพัฒนาระบบควบคุมฟาร์มอัจฉริยะในโรงเรือน โดยใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีสมัยใหม่แบบยั่งยืน ภาคเหนือตอนบน 1” เพื่อพัฒนาระบบควบคุมฟาร์มอัจฉริยะในโรงเรือน ใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีสมัยใหม่ภายในพื้นที่ และเพื่อแก้ไขปัญหาและลดความเสี่ยงด้านจัดการปลูกพืชสมุนไพรในโรงเรือนอัจฉริยะ และเพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการการปลูกพืชสมุนไพรในโรงเรือนอัจฉริยะด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยีสมัยใหม่ ให้เป็นโรงเรือนต้นแบบ เพื่อใช้และ พร้อมสอนต่อไปยังกลุ่มเกษตรกร รวมถึงกลุ่มผู้ที่สนใจ เพื่อนำผลิตผลทางการเกษตรในฟาร์มให้เป็นพืชปลอดภัยได้ตามมาตรฐาน GAP และได้รับความรู้เกี่ยวกับมาตรฐาน Halal ด้านหลักศาสนบัญญัติอิสลาม

ซึ่งการประยุกต์เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อการปลูกพืชสมุนไพรในรูปแบบเกษตรอัจฉริยะ เป็นการนำเอาระบบเฝ้าระวัง (monitoring) และระบบควบคุม (control) ปัจจัยต่างๆ ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช เช่น การใช้น้ำ, อุณหภูมิ และความชื้น เป็นต้น ด้วยการนำเอาเทคโนโลยีใหม่ loT (Internet of Things) โดยการติดตั้งอุปกรณ์เซ็นเซอร์ (Sensor) และ อุปกรณ์ควบคุม (Controller) ภายในโรงเรือน และส่งข้อมูลไปยังเซิร์ฟเวอร์ โดยเกษตรกรหรือผู้ใช้งานสามารถสั่งการ และเรียกดูการรายงานผลในรูปแบบข้อมูลและกราฟผ่านทางหน้าเว็บไซต์ (Website)  ทําให้สามารถลดต้นทุนการผลิต ในกระบวนการเพาะปลูก และเพิ่มผลผลิตให้สามารถส่งออกตลาดได้อย่างเพียงพอ ด้วยในปัจจุบันชุมชนมีตลาดรองรับเป็นจํานวนมาก นอกจากนี้ยังลดการใช้เวลาและการพึ่งพาแรงงานอีกด้วย

ฐานการเยี่ยมชมศูนย์การเรียนรู้ฟาร์มอัจฉริยะ SUN Space

1.Training Unit (Hydroponic & Controller) 
โรงเรือนอัจฉริยะและระบบควบคุมการปลูกพืชแบบไฮโดรโพนิกส์ โรงเรือนปลูกพืชแบบไฮโดรโพนิกส์  (Hydroponic) แบบ Hybird เป็นการผสมผสานการทำ hydroponic แบบน้ำนิ่ง และแบบน้ำไหล เข้าด้วยกันทำให้ใช้ประโยชน์ในด้านพื้นที่ได้โดยการเพิ่มจำนวนชั้นในการปลูกในแนวตั้ง และอีกทั้งยังเป็นการใช้พลังงานจาก Solar Cell ในการปลูก โดยได้ประกอบรวมกันกับระบบควบคุมการปลูกพืช hydroponic ด้วยระบบ Smart Farm พร้อมจัดทำเป็นศูนย์ศึกษาเรียนรู้การทำการเกษตรด้วยระบบ Smart Farm โดยที่ระบบควบคุมประกอบไปด้วย ระบบ network ระบบไฟฟ้า ระบบเซ็นเซอร์ IoT และระบบ ควบคุมอุปกรณ์ IoT 

2. Software Control
ซอฟต์แวร์ระบบควบคุมการปลูกพืชอัจฉริยะสำหรับเกษตรกร

ประกอบด้วย 2 Platform คือ
1.Metafarm Platform เป็น IoT platform ที่มี function ของการทำ Smart Farming เช่น Dashboard การจัดการอุปกรณ์ การควบคุมอุปกรณ์ 2.H Farm bot เป็น line bot ที่สามารถเชื่อต่อกับ Metafarm Platform โดยเป็นช่องทางลัดสำหรับรับการแจ้งเตือน หรือเข้าควบคุมอุปกรณ์ และการตั้งค่าอุปกรณ์ต่างๆ

3. Smart Distillator
เครื่องแปรรูปสกัด Hydrosol และ Essential Oil เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรด้วยระบบ IoT และพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นการนำเทคโนโลยี IoT มาประยุกต์ใช้กับเครื่องกลั่นระบบไอน้ำ เพื่อควบคุมกระบวนการกลั่นให้ได้มาตรฐานและสามารถปรับตั้งค่า Parameter ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการกลั่นเพื่อให้ได้ผลผลิตที่คุณภาพดี และมีความสม่ำเสมอ ลดของเสียจากความผิดพลาดจากการควบคุมโดยมนุษย์

4. Smart Dehydrator
เตาอบพาราโบล่าแบบอัตโนมัติด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี IoT ในการอบแห้ง โดยมีการใช้พลังงานจาก Solar Cell เป็นหลักในการให้พลังงานอุปกรณ์ IoT device โดยที่ตัวระบบสามารถตั้งค่าโปรไฟล์การอบแห้งได้จากค่าอุณหภูมิหรือความชื้นในอากาศ สามารถแสดงค่าจาก sensor อากาศได้ผ่าน Metafarm Platform ซึ่งส่งผลให้สามารถอบแห้งได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพ

5. Train The Trainers สนธนาและแลกเปลี่ยนประสบการณ์จาก Smart Farm Trainer

โครงการ Halal Smart Farming ได้จัดฝึกอบรมให้ตัวแทนเกษตรกรรุ่นใหม่ จำนวน 50 ราย เพื่อเป็น Trainer ที่ได้รับการอบรมจากโครงการฯ ซึ่งจะสามารถขยายผลการฝึกอบรมไปยังบุคคลหรือคณะบุลคลอื่นๆต่อไปในอนาคต โดยศูนย์เรียนรู้ประกอบด้วย 5 แห่ง ดังนี้

1. Sunspace Farm จ.เชียงใหม่

2. Lly Farm จ.เชียงใหม่

3. อาร์มฟาร์ม จ.ลำพูน

4. Stem Farm จ.ลำปาง

5. JJ Farm จ.แม่ฮ่องสอน

ผลผลิตทางการเกษตรของฟาร์มที่เข้าร่วมโครงการ ที่นำเสนอในวันนี้

1.Flower snack (ผลิตภัณฑ์ดอกไม้อบกรอบปรุงรส)

ผลิตภัณฑ์ดอกไม้อบกรอบปรุงรส มาจากแนวคิดที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตดอกอัญชัน แปรรูปโดยการอบแห้งและปรุงรสให้เป็นอาหารทานเล่นที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง อัญชันอบกรอบปรุงรส มี 3 รสชาติให้เลือก ต้มยำ บาร์บีคิว และรสธรรมชาติ และในดอกอัญชันมีสารสำคัญ  แอนโทไซยานิน (Anthocyanins) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ(Antioxidant)

2.Hydrosol Drinking Water (น้ำกลั่นจากพืชใช้สำหรับบริโภค)

-น้ำกลั่นจากพืชทั้ง 7 ชนิด ที่สามารถนำไปเป็นวัตถุดิบในการบริโภค ไม่ว่าจะทั้งเครื่องดื่ม หรือ อาหาร

 3.Plant Cosmetics Color (การสกัดสีจากพืชเพื่อการทำสกินแคร์และเครื่องสำอาง)

– การสกัดสีจากพืช 5 อย่าง ได้แก่ ฝาง ใบมะม่วง อัญชัน หมากแดง ฮ่อม เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตจากการเกษตรและเป็นวัตถุดิบสำคัญในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์สกินแคร์และเครื่องสำอาง

4.Plant Probiotic (การทำโปรไบโอติกส์จากพืช)

-การหมักจุลินทรีย์จากธรรมชาติกับผลไม้และพืชพื้นถิ่น (ข้าว ลิ้นจี่ สัปปะรด) ให้ได้โปรไบโอติกส์ เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตจากการเกษตรในท้องถิ่นและส่งเสริมเป็นวัตถุดิบสำคัญในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์สกินแคร์และเครื่องสำอาง

5.Plant encapsulation (การเอ็นแคปซูเลชั่นสารสกัดจากพืช)

– การทำสารสกัดจากขิงและโรสแมรี่ และผ่านการ encapsulation เพื่อเป็นส่วนประกอบสำคัญในผลิตภัณฑ์กลุ่มดูแลหนังศรีษะเเละเส้นผมได้อย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพ

6..Nail Serum (เนเซรั่ม)

– ผลิตภัณฑ์บำรุงเล็บ โดยมีข้าวหอมมะลิ น้ำมันงาขี้ม้อน น้ำมันเมล็ดชา เป็นส่วนประกอบ ช่วยดูแลสุขภาพเล็บและผิวให้ดีขึ้น

7.Quranic Energy Bar(ขนมอบกรอบให้พลังงาน ผลไม้ผสมธัญพืช(มีการกล่าวถึงในอัลกุรอาน))
เป็นผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อกลุ่มคนที่รักสุขภาพ เพื่อชดเชยความต้องการของโปรตีนและสารอาหารที่มีประโยชน์ ซึ่งประกอบด้วยผลไม้ที่มีการกล่าวถึงในอัลกุรอาน คือ อินทผลัม ผลมะเดื่อ องุ่น เทียนดำ(ฮับบะตุเซาดะห์)กล้วย รวมถึงน้ำผึ้ง ซีเรียล และพืชตระกูลถั่ว ซึ่งส่วนผสมทั้งหมดมีศักยภาพสูงมากในการทำหน้าที่เป็นอาหารเพื่อสุขภาพ และเป็นผลิตภัณฑ์ที่จะสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับอุตสาหกรรมอาหารว่างฮาลาลได้

8.BUTTERNUT SQUASH FLOUR (เส้นพาสต้าจากแป้งบัตเตอร์นัทสควอช)

BUTTERNUT SQUASH FLOUR คือการนำแป้งสควอช เพิ่มมูลค่าโดยการพัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นเส้น
พาสต้าสควอช ซึ่งแหล่งโภชนาการที่ดีและมีประโยชน์อย่างมากต่อสุขภาพ และเป็นแป้งที่อุดมด้วยแร่ธาตุช่วยเพิ่มสุขภาพดวงตา ลดความเสี่ยงของโรคมะเร็ง และรักษาระดับความดันโลหิต

9.Seven Day tea (ชา 7 สี) 
ผลิตภัณฑ์ชา 7 รส 7 สี ประกอบด้วย 1. Ginger Tea 2. Lemongrass Tea 3. English Breakfast 4. Jasmine Tea     5. Peppermint Tea 6. Oolong Tea 7. Darjeeling Tea

10.Plant food color  (การสกัดสีจากพืชเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและยา)

-การสกัดสีจากพืช 4 ชนิดได้แก่ ดอกอัญชัน(สีน้ำเงิน) ฟักทอง(สีเหลือง) บีทรูท (สีแดง)และใบเตย(สีเขียว)โดยใช้เทคนิค  เอนแคปซุเลชั่น ด้วยเครื่อง Spray dryer เพื่อให้ได้สารสีไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมยา ซึ่งสารสีมีคุณค่าทางอาหารที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลายด้าน และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับพืชท้องถิ่น

สำหรับ บีซีจี (BCG) คือแผนการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวมโดยพัฒนาพร้อมกันสามมิติ ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง โดยเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เน้นการนำวัสดุเวียนกลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด ทั้งสองเศรษฐกิจนี้อยู่ภายใต้เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ซึ่งหมายถึงการพัฒนาสังคมควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อมให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนไปพร้อมกัน บีซีจีเป็นแนวทางพัฒนาเศรษฐกิจที่รัฐบาลไทยนำเสนอในการประชุมเอเปค (APEC) ซึ่งเป็นความร่วมมือใน 21 เขตเศรษฐกิจพื้นที่เอเชีย-แปซิฟิก ที่กรุงเทพฯ พ.ศ.2565 โดยประเทศสมาชิกเห็นชอบ ในเมื่อบีซีจีเป็นกรอบใหญ่ในการพัฒนาเศรษฐกิจในอนาคตโดยอาศัยประโยชน์จากการที่ประเทศไทยมีความได้เปรียบทางด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ศวฮ.จึงเห็นว่าการขับเคลื่อนองค์กรไปในทิศทางนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย ทั้งกับบุคลากรของ ศวฮ. มหาวิทยาลัยไปจนถึงประเทศชาติและต่อโลกในภาพรวม

ทีมงาน ศวฮ.ประขุมกันเรื่องงานพัฒนานวัตกรรมด้านบีซีจีหลายครั้ง เพื่อการจดสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์ และการขยายงานที่เป็นประโยชน์ต่อนักธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหรือเอสเอ็มอีที่ทาง BIHAP (Business Incubator of Halal Products) ของ ศวฮ.ดูแลอยู่ อีกทั้งยังเกี่ยวข้องกับงานของ HICOLEC (Halal Innovation Community Learning Center) ที่นครนายก ซึ่งเริ่มงานด้านสมาร์ทฟาร์ม (Smart Farm) อย่างใกล้ชิดกับ ศวฮ.สำนักงานเชียงใหม่ ภายใต้การกำกับของ ผศ.ดร.ภราดร สุรีย์พงษ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ศวฮ.ที่เปิดโครงการทางด้านการเกษตรฮาลาลแม่นยำ (Precision Halal Agriculture) หรือสมาร์ทฟาร์มขึ้นสองสามโครงการ ศวฮ.ในยุคที่สี่เน้นไปที่การพัฒนานวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ เพื่ออนาคตของ ศวฮ. โดยทำงานใกล้ชิดกับหน่วยงานของ ศวฮ.ที่มหาวิทยาลัยสนับสนุนให้จัดตั้งขึ้นใหม่นั่นคือ CUHE (Chulalongkorn University Halal Enterprise) ซึ่งอยู่ภายใต้ CUE (Chulalongkorn University Enterprise) งานแม้เพิ่งเริ่มต้น ทว่ามีแผนการและแหล่งทุนชัดเจน ภายใต้การสนับสนุนส่งเสริมของมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ ศวฮ.ยังมีเครือข่ายต่างประเทศในจำนวนพอสมควร

งานบีซีจีมีสำนักงานเชียงใหม่ร่วมกับนครนายกเป็นหัวขบวน มีสำนักงานปัตตานีและกรุงเทพฯช่วยเสริมเริ่มต้นด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพจากสารสมุนไพรศาสดาสกัดเข้มข้นเคลือบใยอาหาร (Prebiotics Encapsulated Concentrated Prophetic Herbs) โดยอยู่ในขั้นตอนทดลอง การผลิตสมุนไพรศาสดาเพื่อผลิตสารสกัดสำคัญใช้เทคโนโลยีสมาร์ทฟาร์มหรือเทคโนโลยีการเกษตรแม่นยำ (Precision Agricultural Technology) เป็นหลัก ขณะที่การผลิตใยอาหารเพื่อเคลือบสารสกัดใช้เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) เป็นหลัก งานพัฒนาทั้งสองส่วนจำเป็นต้องใช้เครือข่ายเกษตรกรหลายจังหวัดซึ่ง ศวฮ.สำนักงานเชียงใหม่ดำเนินการอยู่ คาดหมายว่าจะสามารถขับเคลื่อน ศวฮ.ไปสู่งานพัฒนานวัตกรรมระดับโครงสร้างได้ในอนาคต

ข้อมูลโครงการ “การพัฒนาระบบควบคุมฟาร์มอัจฉริยะในโรงเรือน โดยใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีสมัยใหม่แบบยั่งยืน ภาคเหนือตอนบน 1” สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่…

https://sites.google.com/view/halal-smart-farm/home?authuser=0

https://www.facebook.com/HSC.CU.CM?mibextid=ZbWKwL

https://www.facebook.com/HalalSmartFarm?mibextid=LQQJ4d

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *