ม.แม่โจ้ เจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการนานาชาติ ABBS – International Conference on Biohydrogen & Bioprocesses 2024 ครั้งที่ 19

0

เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานกล่าวต้อนรับและเปิดการประชุม APEC workshop พร้อมทั้งบรรยายพิเศษ หัวข้อ Agriculture Higher Education for Sustainable Agriculture Transformation towards Net-Zero Future : Maejo university, chiang Mai, Thailand ซึ่งเป็นกิจกรรมหลักของการประชุมวิชาการระดับนานาชาติไบโอไฮโดรเจนและกระบวนการทางชีวภาพ 2024 (ABBS – International Conference on Biohydrogen & Bioprocesses 2024) ครั้งที่ 19 โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 10 เขตเศรษฐกิจ ได้แก่ ไทย จีนไทเป เกาหลีไต้ มาเลเซีย สาธารณรัฐประชาชนจีน อินโดนีเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ชิลี เม็กซิโก และรัสเซีย
ณ โรงแรม The Kantary Hills เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นศูนย์เครือข่ายงานวิจัยเทคโนโลยีไบโอไฮโดรเจนในภาคเหนือของเขคเศรษฐกิจไทย มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565 จึงได้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ABBS – International Conference on Biohydrogen & Bioprocesses 2024) ครั้งที่ 19 ระหว่างวันที่ 17-20 กันยายน 2567

โดยมีสำนักบริหารและพัฒนาวิชาการเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงาน เพื่อเป็นเวทีเผยแพร่ผลงานวิจัยและนวัตกรรมเกี่ยวกับ นวัตกรรม การบูรณาการ การเปลี่ยนแปลงเพื่อนำไปสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Innovation, Integration, and Transformation for the Net-Zero Future) ซึ่งเป็นหัวข้อที่กำลังได้รับความสนใจไปทั่วโลก โดยบทความวิชาการที่ถูกนำเสนอในการประชุมวิชาการครั้งนี้จะได้รับการคัดเลือกให้เผยแพร่ตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติที่อยู่ในฐานข้อมูลระดับสูง

การจัดประชุมครั้งนี้ นอกจากการนำเสนอผลงานวิชาการระดับนานาชาติที่น่าสนใจแล้ว ยังมีการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) และสิ่งแวดล้อมสีเขียว(Green Environment) ซึ่งสอดคล้องกับความเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ อีกทั้งยังมีการประกวด YES Challenge ซึ่งเป็นการประกวดโครงการด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สู่การเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่อยากพัฒนาการใช้เทคโนโลยีเพื่อการต่อยอดเชิงธุรกิจในอนาคต

ภายใต้องค์กร APEC YES ในหัวข้อ “ทางออกของการบูรณาการสีเขียวสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ด้วยเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการฟื้นฟูและความยั่งยืน” (Green Synergy Solutions to Net Zero Emissions Based on Biology Technologies for Resilience and Sustainability) ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการหน้าใหม่ตระหนึกถึงเรื่องของสิ่งแวดล้อม Net Zero ในการทำธุรกิจเพื่อความยั่งยืน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

เรื่องที่คุณอาจสนใจ