คณะกรรมาธิการศึกษาการจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณ เยี่ยมชม ติดตามผลการดำเนินงาน โครงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้แก่เกษตรกรไทยฝ่าวิกฤตโควิด – 19 ม.แม่โจ้

0

วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม 2565 รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมคณะผู้บริหาร ให้การต้อนรับ นายไชยา พรหมา ประธานคณะกรรมาธิการศึกษา การจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณ สภาผู้แทนราษฎร และคณะ ในโอกาสที่เดินทางเข้าศึกษาดูงาน “ติดตาม ตรวจสอบการใช้งบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นกรณีจัดสรรงบประมาณให้แก่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในโครงการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบปัญหาจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (Covid-19) โดยมี อาจารย์ ดร.สุดเขต สกุลทอง ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในฐานะหัวหน้าโครงการรายงานผลความก้าวหน้าโครงการ ทั้งนี้ มีหัวหน้ากิจกรรมย่อยแนะนำหลักสูตร และประธานวิสาหกิจชุมชนร่วมรายงานความก้าวหน้าของกลุ่มผู้เข้าร่วมฝึกอบรม รวมทั้งร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน ณ ห้องประชุมรวงผึ้ง ชั้น 5 สำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้

สำหรับโครงการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบปัญหาจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (Covid-19) มหาวิทยาลัยแม่โจ้ดำเนินงานภายใต้ชื่อ “โครงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้แก่เกษตรกรไทยฝ่าวิกฤตโควิด – 19 ด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรมสมัยใหม่ (Modern Agriculture – BCG)” โดยได้รับการสนับสนุนจาก กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อพัฒนาและส่งเสริมอาชีพการเกษตรสมัยใหม่ให้แก่เกษตรกร โดยถ่ายทอดนวัตกรรม เทคโนโลยี ทางการเกษตรสมัยใหม่ที่เหมาะสม ส่งเสริมให้เกษตรกรได้ปฏิบัติจริง ซึ่งจะดำเนินโครงการใน 7 กิจกรรม คือ

  1. การเพาะเห็ดเศรษฐกิจมูลค่าสูง 5 ชนิด
  2. นวัตกรรมการปรับปรุงปุ๋ยอินทรีย์ปัจจัยการผลิต ชีวภัณฑ์ป้องกันโรคและแมลงในพืชไร พืชสวน ครบวงจร ด้วยสมุนไพรไทย
  3. การเลี้ยงปลาดุกที่มีสารโปรตีนและโอเมก้า พร้อมผลิตอาหารปลาอินทรีย์
  4. ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการผลิตไก่พื้นเมืองโปรตีนสูง
  5. ส่งเสิรมและฝึกการเลี้ยงกบในบ่อซีเมนต์
  6. การผลิตลำไยคุณภาพสูง การคัดพันธุ์กล้าลำไย การปรับปรุงคุณภาพลำไย เทคนิคการตัดแต่งกิ่งลำไยเพิ่มคุณภาพผลผลิต
  7. การปลูกพืชผักสวนครัวแบบสมาร์ทไฮโดรโปนิกส์ ในระบบเกษตรปลอดภัย

ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมโครงการทั่วประเทศรวมวิสาหกิจชุมชน จำนวน 5001 กลุ่ม ครอบคลุมประชากร 50,010 ราย โดยคาดว่า ร้อยละ 80 ของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการ ได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ทางการเกษตรเพื่อลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ช่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *