กองทัพภาคที่ 3 ร่วมมือ​ กระทรวงสาธารณสุข และจังหวัดเชียงใหม่ เตรียมเสริมกำลังเจ้าหน้าที่ พร้อมยุทโธปกรณ์ทางการแพทย์ ช่วยดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ในเรือนจำกลางเชียงใหม่

0

พลตรีถนัดพล โกศัยเสวี รองแม่ทัพภาคที่ 3 พร้อมด้วยพลตรีวุฒิไชย อิศระ รองเจ้ากรมการแพทย์ทหารบก รักษาการผู้อำนวยการโรงพยาบาลค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช, นายแพทย์ธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข, นายเจริญฤทธิ์ สงวนสัตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุมเพื่อเตรียมความพร้อมประสานการปฏิบัติและการแก้ไขปัญหาสถานการณ์โรคโควิด-19 ในพื้นที่เรือนจำกลางเชียงใหม่ หลังพบว่า​ มีผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น โดยกองทัพภาคที่ 3 เตรียมเสริมกำลังทั้งเจ้าหน้าที่และยุทโธปกรณ์ทางการแพทย์ เข้ามาช่วยดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ในเรือนจำกลางเชียงใหม่ โดยให้กองพลทหารราบที่ 7 เป็นหน่วยสนับสนุนหลักมีหน้าที่ในการดำเนินการและแก้ไขปัญหาในพื้นที่ ขณะที่มณฑลทหารบกที่ 33 จะสนับสนุนแพทย์พยาบาล จากโรงพยาบาลค่ายกาวิละ ช่วยดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาลสนามเรือนจำกลาง พร้อมทั้งจัดกำลังพลและเจ้าหน้าที่สารวัตรทหาร ช่วยสนับสนุนการดำเนินงานตามที่ได้ร้องขอ

ทั้งนี้รองแม่ทัพภาคที่ 3 กล่าวว่า จะมีการเตรียมพื้นที่กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ค่ายนเรศวรมหาราช อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ สำรองไว้หากกรณีต้องขยายพื้นที่โรงพยาบาลสนามต่อไป โดยจะมีการระดมสรรพกำลังจากทุกภาคส่วน บุคลากรสายแพทย์ ที่มีกำลังพลอยู่จำนวนหนึ่ง รวมไปถึงเครื่องไม้เครื่องมือของกองทัพบก มาสนับสนุนจังหวัดเชียงใหม่อย่างเต็มที่ เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระแพทย์พยาบาล ให้สามารถทำงานได้อย่างเต็มศักยภาพ ด้านผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ที่ผ่านมาแม้จังหวัดเชียงใหม่จะมีผู้ป่วยมากเป็นอันดับที่สองของประเทศ แต่สามารถจัดการเชิงระบบได้ดีตลอดสามอาทิตย์ที่ผ่านมา จนจำนวนผู้ป่วยลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่ขณะนี้เกิดสถานการณ์ในเรือนจำกลางเชียงใหม่ที่ต้องเฝ้าระวัง ซึ่งกระบวนการจัดการในเรือนจำค่อนข้างมีความยากลำบาก แต่กระทรวงสาธารณสุขมีประสบการณ์อยู่แล้ว โดยสถานการณ์ปัจจุบันผู้ป่วยในเรือนจำยังอยู่ในระดับสีเขียว​ คือไม่มีอาการ แต่ในอนาคตอาจจะมีผู้ป่วยสีเหลือคือ​ มีอาการปานกลาง และผู้ป่วยสีแดงคือ​ อาการหนักตามมา ในเบื้องต้นจะมีการดูแลรักษาอย่างเต็มที่ไม่ให้มีการเสียชีวิตในเรือนจำ โดยได้นำมาตรการ Bubble & Seal จะไม่นำขนไข้ออกสู่ภายนอก ยกเว้นคนไข้สีแดงที่มีอาการหนักมากที่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจ ต้องเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักหรือไอซียู หรือห้องความดันลบ

สำหรับจำนวนผู้ต้องขังที่ติดเชื้อโควิด-19 มีจำนวน 189 ราย ทั้งหมดรักษาตัวที่โรงพยาบาลสนามเรือนจำกลางจังหวัดเชียงใหม่ และมีเจ้าหน้าที่เรือนจำ 2 ราย รักษาตัวที่โรงพยาบาลสนามในจังหวัดเชียงใหม่ รวมมีผู้ป่วยคลัสเตอร์เรือนจำกลางเชียงใหม่แล้ว 191 ราย

ทั้งนี้การแพร่ระบาดในเรือนจำกลางเชียงใหม่นั้น พบว่าเกิดขึ้นในแดน 4 จากผู้ต้องขังรับใหม่ ที่ถูกกักกันไว้ 14 วัน ก่อนเข้าสู่แดนหลัก และเกิดการระบาดไปยังผู้ต้องขังและผู้ช่วยเหลือในแดนอื่นๆ ผู้ต้องขังบางส่วนมีการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อในห้องกักกันที่เกิดการระบาดในระยะท้ายของการกัก ที่มีผลตรวจก่อนย้ายแดนเป็นลบเนื่องจากยังอยู่ในระยะฟักตัว จากนั้นถูกย้ายไปยังแดนอื่นๆ จึงทำให้เกิดการระบาดต่อในผู้ต้องขังร่วมห้อง รวมทั้งที่มีการทำกิจกรรมร่วมกันในช่วงเวลากลางวัน เช่น แดนการศึกษา ที่มีผู้ต้องขังกลุ่มหนึ่งจากแดน 5 และ 7 มาทำกิจกรรมด้วย ซึ่งการนำมาตรการ Bubble & Seal เข้ามาดูแลคือมาตรการคนในห้ามออกคนนอกห้ามเข้า เพื่อจำกัดการเคลื่อนย้าย และจะแยกผู้ต้องขังกลุ่มเปราะบางออกมาดูแลเฉพาะ เช่น ผู้ต้องขังที่มีอายุมากกว่า 55 ปี, ผู้ต้องขังที่มีโรคประจำตัว ผู้ต้องขังกลุ่มนี้ หากพบว่ามีอาการป่วย ไข้ ไอ เจ็บคอ มีเสมหะ มีน้ำมูก หอบเหนื่อย หายใจลำบาก ความเข้มข้นออกซิเจนในเลือดต่ำ 95 ก็จะคัดกรองมารับการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หากพบว่ามีการติดเชื้อโควิด-19 ก็จะถูกส่งตัวรักษาที่ รพ.สนามเรือนจำกลางเชียงใหม่ และหลังจากทำ Bubble and Seal ครบ 14 วัน ในวันที่ 7 พฤษภาคม จะมีการตรวจหาภูมิคุ้มกันให้กับผู้ต้องขังอีกรอบเพื่อเป็นการประเมินสถานการณ์

ทางด้านนายแพทย์กิตติพันธุ์ ฉลอม ผู้ช่วยนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวถึง สถานการณ์การระบาดโควิด-19 ในเรือนจำกลางจังหวัดเชียงใหม่ หลังพบผู้ต้องขังในแดนแรกรับติดเชื้อโควิด-19 และเกิดการแพร่ระบาดไปยังแดนอื่นภายในเรือนจำ ทำให้ผู้ต้องขังและผู้คุมติดเชื้อ COVID-19 แยกเป็นผู้ต้องขัง 189 ราย และเจ้าหน้าที่เรือนจำ 2 ราย รวมเป็น 191 ราย ซึ่งขณะนี้ผู้ต้องขังที่ติดเชื้อรักษาตัวที่ รพ.สนามเรือนจำกลางจังหวัดเชียงใหม่

ส่วนเจ้าหน้าที่เรือนจำรักษาตัวที่โรงพยาบาลในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่
สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2564 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ ได้รับแจ้งจาก รพ.แม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ มีการพบผู้ต้องขังในเรือนจำกลางเชียงใหม่ ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวน 37 ราย ทั้งหมดเป็นผู้ต้องขังรับใหม่ที่แยกอยู่ในห้องกักตัวแรกรับ จากจำนวนทั้งหมด 82 ราย ที่ได้รับการเก็บตัวอย่างตรวจตามแนวทางของเรือนจำ ทีมสอบสวนโรค สสจ.เชียงใหม่ ร่วมกับ สำนักงานป้องกันและควบคุมโรคที่ 1 โรงพยาบาลแม่แตง และสำนักงานสาธารณสุขอำเภอแม่แตง ได้ดำเนินการสอบสวนและควบคุมโรค พบว่าการระบาดเกิดขึ้นในแดน 4 จากผู้ต้องขังรับใหม่ ที่ถูกกักกันในระยะเวลา 14 วัน ก่อนเกิดการระบาดไปยังผู้ต้องขังและผู้ช่วยเหลือ และมีการติดต่อไปยังผู้ช่วยเหลือในแดนอื่นๆ

ผู้ต้องขังบางส่วนมีการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อในห้องกักกันที่เกิดการระบาดในระยะท้ายของการกัก ซึ่งผลตรวจก่อนย้ายแดนเป็นลบ เนื่องจากยังอยู่ในระยะฟักตัว จากนั้นถูกย้ายไปยังแดนอื่นๆ จึงทำให้เกิดการระบาดต่อในผู้ต้องขังร่วมห้อง นอกจากนี้ยังพบการระบาดอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากผู้ต้องขังยังคงต้องทำกิจกรรมร่วมกันในช่วงเวลากลางวัน ทั้งในแดนตนเอง และกิจกรรมในแดนอื่นๆ เช่น แดนการศึกษา ที่มีผู้ต้องขังกลุ่มหนึ่งจากแดน 5 และ 7 มาทำกิจกรรมร่วมกัน

ผู้ต้องขังในเรือนจำ ถือเป็นกลุ่มบุคคลเฉพาะที่จะต้องมีการบริหารจัดการดูแลเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาด ซึ่งจังหวัดเชียงใหม่ได้ใช้มาตรการ Bubble & Seal เข้ามาดูแล โดยมีการจำกัดการเคลื่อนย้าย แยกผู้ต้องขังกลุ่มเปราะบางออกมาดูแลเฉพาะ เช่น ผู้ต้องขังที่มีอายุมากกว่า 55 ปี, ผู้ต้องขังที่มีโรคประจำตัว ผู้ต้องขังกลุ่มนี้ หากพบว่ามีอาการป่วย ไข้ ไอ เจ็บคอ มีเสมหะ มีน้ำมูก หอบเหนื่อย หายใจลำบาก ความเข้มข้นออกซิเจนในเลือดต่ำ 95 ก็จะคัดกรองมารับการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หากพบว่ามีการติดเชื้อโควิด-19 ก็จะถูกส่งตัวรักษาที่ รพ.สนามเรือนจำกลางเชียงใหม่ และหลังจากทำ Bubble and Seal ครบ 14วัน(7 พ.ค. 2564) ก็จะมีการตรวจหาภูมิคุ้มกันให้กับผู้ต้องขัง เพื่อเป็นการประเมินสถานการณ์ การเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ สำหรับกลุ่มที่ไม่มีภูมิคุ้มกันจะถูกตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อีกครั้งเมื่อครบ 28 วันหลังการทำ Bubble & Seal พร้อมประเมินสถานการณ์ลดระดับความเข้มข้นของการควบคุม และคาดว่าสถานการณ์จะกลับมาสู่ปกติได้โดยเร็ว
หลักการ Bubble and Seal คือ Seal “ปิดผนึก” จะใช้กับสถานที่ที่เฉพาะ สามารถจำกัดการเคลื่อนไหวของคน ไม่ต้องเดินทางออกนอกพื้นที่ ลดการแพร่เชื้อ คาดว่าใช้เวลา 28 วัน จะสามารถควบคุมโรคได้ Bubble หรือเรียกว่าเป็น “เขตเฝ้าระวังพิเศษ” จะใช้กับสถานที่ที่ มีการจัดหาที่พักให้อยู่ในสถานที่ที่กำหนด มีการตีกรอบพื้นที่ชัดเจน

ทั้งนี้ขอให้ทุกคนมั่นใจหน่วยงานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวของ ได้ร่วมมือกันดำเนินการควบคุมโรคที่อยู่ในเรือนจำกลางจังหวัดเชียงใหม่ ป้องกันไม่ให้มีการระบาดมาสู่ชุมชน กลุ่มผู้ต้องขังจะได้รับการดูแลตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข ขณะเดียวกัน ได้ขอความร่วมมือให้ญาติงดเดินทางไปเยี่ยมผู้ต้องขังในช่วงนี้ไว้ก่อน เพื่อลดโอกาสในการแพร่เชื้อ

สำหรับที่ผู้ต้องขังจำนวนหนึ่งที่จะพ้นโทษและได้รับการปล่อยตัวออกจากเรือนจำ ซึ่งก่อนที่ผู้ต้องขังเหล่านี้จะสามารถกลับบ้านได้ จะต้องมีการคัดกรองอีกรอบ โดยจะให้เข้าไปสังเกตอาการ 14 วัน ที่ศูนย์บำบัดยาเสพติด ซึ่งเป็นสถานที่กักตัว Local Quarantine และเมื่อครบ 14 วันไม่มีอาการผิดปกติ จึงสามารถกลับบ้านได้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

เรื่องที่คุณอาจสนใจ